Quantcast
Channel: Thai Open Source
Viewing all articles
Browse latest Browse all 176

มาติดตั้ง OpenShift Origin PaaS เล่นกัน

$
0
0

OpenShift เป็น Platform as a Service พัฒนาโดย RedHat ซึ่งนำแนวคิดการพัฒนา PaaS โดยไม่พึ่งพาการทำ Multi Tenant โดยใช้ VM แต่ใช้ Kernel Control Group, Namespace และ SELinux เป็นตัวแบ่ง Tenant ให้แต่ละ Application ทำงานแทนการใช้ VM ทำให้โครงสร้างของ OpenShift แตกต่างจาก PaaS ตัวอื่นๆ อย่างชัดเจน OpenShift ใช้ Gear แทน Application ของผู้ใช้ ซึ่งใน 1 Gear จะมีส่วนประกอบไปด้วย Code ของ Application, Git Repository, Application Environment และ Cargtride ที่เป็น Application Runtime, ฐานข้อมูล, Jenkins Server สำหรับทำ CI และ HA Proxy สำหรับทำ Load balance ระหว่าง Gear และรองรับการทำ Elastic Scale ผ่าน HA Proxy นอกจากนี้ยังสร้าง domain name จาก namespace ที่กำหนดให้โดยผู้ใช้ให้อีกด้วย ใครสนใจเรื่อง Architecture เข้าไปอ่านในเว็บ OpenShiftกันได้

OpenShift แบ่งรุ่นบริการออกเป็น 3 รุ่น คือ

  • OpenShift Origin เป็นโอเพนซอร์สสามารถเข้าร่วมพัฒนาได้
  • OpenShift Enterprise เป็นรุ่น Enterprise ติดตั้งผ่าน RHEL Repository
  • OpenShift Online เป็นบริการออนไลน์บน openshift.com

OpenShift สามารถติดตั้งได้บน RedHat Enterprise Linux และ Fedora สำหรับ Linux Distribution อื่น เอา ไฟล์ spec+source ไป build package เอาเอง T_T

วิธีการติดตั้ง OpenShift ทำได้ 2 วิธี

ถ้าอยากลองเล่น OpenShift ก็สามารถลงทะเบียนเข้าใช้งานที่ OpenShift Onlineได้ฟรี สำหรับการติดตั้งแบบง่ายๆ ก็คงหนีไม่พ้น Puppet ครั้งนี้ใช้ Fodora 19 ติดตั้งแบบ Command Line และ Developer Tools อ้อ ลืมบอกไปว่าเราจะติดตั้งแบบง่ายที่สุดคือมี broker+node+console ในเครื่องเดียวกัน ใครสนใจติดตั้งแบบอื่น ตามลิงค์ได้ที่ท้ายบทความ หลังจากติดตั้ง Fedora 19 แล้วก็ติดตั้ง Puppet ดังนี้

yum install -y --nogpgcheck http://yum.puppetlabs.com/puppetlabs-release-fedora-19.noarch.rpm

เนื่องจากเราจะใช้ mcollective และ activemq ของ OpenShift Origin ดังนั้นต้องไปตั้งค่า exclude ไว้ใน repo ของ puppet โดยแก้ไขไฟล์ /etc/yum.repo.d/puppetlabs.repo ใส่ค่า exclude=*mcollective* activemqต่อท้ายทุกๆ repo ในไฟล์ puppetlabs.repo จากนั้นตั้งติดตั้ง puppet และเครื่องมือที่ต้องใช้

yum install -y puppet facter tar httpd-tools

จากนั้นติดตั้ง puppet module ดังนี้

puppet module install puppetlabs/ntp

puppet module install puppetlabs/stdlib

puppet module install openshift/openshift_origin

ติดตั้ง Bind และสร้าง TSIG Key

yum install -y bind

สร้าง TSIG Key ให้ domain ของคุณ ในกรณีนี้ใช้เป็น example.com ถ้าไม่ชอบก็สามารถเปลี่ยนเป็น domain ที่คุณต้องการได้

/usr/sbin/dnssec-keygen -a HMAC-MD5 -b 512 -n USER -r /dev/urandom -K /var/named example.com

cat /var/named/Kexample.com.*.key | awk '{print $8}'

คุณจะได้ค่า Key หน้าตาแปลกๆ แบบนี้ Mczfz277B5ykcPB4mAurZtZMhmXV6g==ให้จดเอาไว้ แล้วสร้าง config ชื่อ openshift_origin.ppดาวน์โหลดจาก link ได้ครับ แก้ไข config ตามที่คุณต้องการ เช่น domain, bind key เป็นต้น ใน config ผมกำหนดให้ puppet ติดตั้ง Cartridge แค่ PHP, PHPMyAdmin, MariaDB และ HAProxy เพื่อความรวดเร็ว เมื่อได้ไฟล์ config กันแล้ว ก็สั่งให้ puppet ทำงานดังนี้

puppet apply --verbose openshift_origin.pp

ระหว่างนี้ก็นั่งรอครับ ประมาณครึ่งชั่วโมง T_T ถ้าไม่มี Error ตัวแดงๆ ก็เป็นอันใช้ได้ เมื่อติดตั้งเสร็จให้ reboot เครื่องแล้ว เปิด browser ไปที่ http://broker.example.com/console

OpenShift จะถาม username และ password ใส่ openshift, password จากนั้นก็ใช้งานตามปกติ

ลิงค์ที่น่าสนใจ


Viewing all articles
Browse latest Browse all 176

Trending Articles